เป็นโรคตับแข็งอยู่ได้กี่ปีและมีวิธีการรักษาโรคตับแข็งได้อย่างไร

เป็นโรคตับแข็งอยู่ได้กี่ปีและมีวิธีการรักษาโรคตับแข็งได้อย่างไร

โดยพื้นฐานแล้วโรคตับแข็งไม่มีการรักษาให้หายขาดได้ แต่เป็นการรักษาแบบประคับประคอง เพื่อให้ผู้ป่วยมีอาการแย่ลงกว่าเดิม และไม่ให้มีภาวะโรคอื่นแทรกซ้อนเข้ามาเพิ่ม เพราะเมื่อตับถูกทำลายไปแล้วเป็นไปได้ยากที่จะสามารถฟื้นฟูตัวเองกลับมาเป็นปกติได้ ดั้งนั้นการรักษาที่ถูกต้นควรหาสาเหตุต้นเหตุที่ทำให้เกิดโรคตับ ทั้งนี้วิธีการรักษาอาจจะต้องดูตามสถานการณ์ของอาการ สาเหตุหลักๆที่ทำให้เกิดโรค บางรายที่เป็นโรคตับระยะรุนแรงแล้ว อาจจะต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล หากเป็นในช่วงแรกอาจจะต้องได้รับการรักษาโดยควบคุมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวันดังนี้

  1. หยุดดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮออล์ทุกชนิด เนื่องจากทราบกันดีอยู่แล้วว่าแอลกอฮอลล์เป็นสาเหตุที่ทำให้เนื้อเยื่อตับถูกทำลายได้มากที่สุด ผู้ป่วยร้อยละ 70% ส่วนใหญ่ที่เป็นโรคตับแข็งมักจะเกิดจากการดื่มแอลกอฮอลล์ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานๆหลายปี ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคตับแข็งและเสียชีวิตมากที่สุด โดยผู้ป่วยต้องงด ได้รับการรักษาหรือเข้ารับการบำบัดอย่างถูกวิธี ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการลงแดง หรืออยากดื่ม ต้องค่อยๆลดปริมาณในช่วงแรกไปจนถึงเลิกดื่มถาวร
  2. รับประทานยาเพื่อช่วยควบคุมโรคไวรัสตับอักเสบ โดยเมื่อได้ไปพบแพทย์ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี แพทย์จะมีการจ่ายยาประเภท สเตียรอยด์หรือยาต้านไวรัส เพื่อช่วยไม่ให้เซลล์ตับถูกทำลายมากขึ้น และลงจำนวนของไวรัสให้ลดลง
  3. ลดน้ำหนัก ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่รู้ว่า ภาวะไขมันเกาะที่ตับนั้นไม่ได้มีสาเหตุจากการดื่มสุรา ควรออกกำลังกายบ่อยๆ เพื่อลดไขมันและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้น้อยลง นอกจากจะช่วยป้องกันการเกิดโรคตับแล้วยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคอื่นๆได้อีกด้วย

นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้วอาจมีการดูแลรักษาโรคตับอื่นๆอีก หากใครมีผู้ป่วย ญาติ คนใกล้ชิดที่มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับแข็งอยู่นี้ ควรได้รับคำปรึกษาอย่างถูกต้องรวมไปถึงข้อมูลต่างๆที่จะช่วยไม่ให้เกิดโรคตับแข็งได้

รับมืออย่างไร กับ โรคกรดไหลย้อน

คนไทยคุ้นเคยกันดีกับโรคกระเพาะอาหาร ฉะนั้นเมื่อเกิดอาการ “เรอเปรี้ยว หรือมีรสขมในปาก ปวดแสบร้อนในช่องท้องส่วนบน ปวดบริเวณหน้าอก” ก็จะคิดไว้ก่อนว่านั่นเป็นอาการของโรคกระเพาะอาหาร ทั้งที่ความจริงแล้วอาจจะเป็น “โรคกรดไหลย้อน จากกระเพาะสู่หลอดอาหาร (Gastro esophageal Reflux Disease : GERD)”

“โรคกรดไหลย้อน” เป็นภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหาร โดยของที่ไหลย้อนส่วนใหญ่จะเป็นกรดในกระเพาะอาหาร ส่วนน้อยอาจเป็นด่างจากลำไส้เล็ก โดยอาจมีหรือไม่มีหลอดอาหารอักเสบก็ได้

ผู้ป่วยด้วยโรคนี้จะมีอาการแสบยอดอก เรอเปรี้ยว ภาวะนี้อาจทำให้เกิดหลอดอาหารอักเสบหรือเป็นมากจนเกิดแผลรุนแรง จนทำให้ปลายหลอดอาหารตีบ หรือเกิดการเปลี่ยนแปลงเซลล์ของเยื่อบุหลอดอาหารได้ บางรายอาจรุนแรงจนถึงขั้นเป็นมะเร็งหลอดอาหารได้

“แต่เท่าที่พบผู้ป่วยบางรายไม่ได้มาด้วยอาการแสบยอดอก เรอเปรี้ยว แต่มาหาหมอด้วยอาการของโรคหู คอ จมูก เช่น ไอเรื้อรัง เสียงแหบเรื้อรัง มีกลิ่นปาก หรืออาจมาด้วยอาการทางระบบหายใจ เช่น หอบหืด บางรายก็มาด้วยอาการเจ็บหน้าอก ซึ่งเมื่อวินิจฉัยแล้วไม่พบโรคอื่น ก็จะส่งมาที่แผนกและส่วนใหญ่จะพบว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน”

โรคกรดไหลย้อน มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ลักษณะของโรคคือการที่มีกรดไหลย้อนขึ้นจากกระเพาะอาหารมาที่หลอดอาหาร โรคกรดไหลย้อนมักพบได้จากการที่มีการอักเสบของหลอดอาหาร โรคกรดไหลย้อน ซึ่งมีผลกระทบได้ในทุกช่วงอายุ และวิถีชีวิตในแถบยุโรป พบได้ในผู้ใหญ่ ประมาณ 20-40% ซึ่งอาการที่พบเป็นประจำคืออาการแสบยอดอก

โรคกรดไหลย้อนจะพบได้มากใน ทุกกลุ่มอายุ แต่ที่พบมาก และมักจะมีอาการรุนแรงจะเป็นกลุ่มคนอ้วน ยิ่งกลุ่มคนที่สูบบุหรี่ยิ่งมีปัจจัยเสี่ยงมากขึ้น

อาการของโรคจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีอาการนอกหลอดอาหารจะมีอาการเจ็บคอเรื้อรัง ซึ่งหากเจ็บคอเรื้อรังแต่หาสาเหตุไม่พบส่วนใหญ่ 70% จะเป็นโรคกรดไหลย้อน ส่วนที่มีอาการในหลอดอาหารจะมีการอักเสบ

การวินิจฉัยโรค ไม่แนะนำให้ใช้วิธีส่องกล้อง ยกเว้นในรายที่มีอาการอาเจียนอย่างรุนแรง ถ่ายอุจจาระสีดำ เพราะการส่องกล้องจะวินิจฉัยได้เพียง 10-30% เท่านั้น หากรักษาด้วยการใช้ยารักษา ซึ่งใช้ดีที่สุดในกลุ่มคนไข้ที่มีการอักเสบของหลอดอาหาร หากให้ยาแล้ว 2 สัปดาห์อาการดีขึ้นก็ให้สันนิษฐานว่าเป็นโรคกรดไหลย้อน

“การปรับพฤติกรรมการกิน การนอน จะสามารถช่วยรักษาได้ 20% แต่หากใช้ยาในการรักษาจะหายได้ 80-100% คนไทยจะพบโรคนี้ประมาณ 7.4% ซึ่งมากกว่าเบาหวานซึ่งจะพบแค่ 4% ของประชากรเท่านั้น แต่ผู้ที่มีโรคนี้ประมาณ 40% จะไม่กระทบกับการดำเนินชีวิตประจำวัน” แต่หากรักษาด้วยยาไม่ได้ผลก็จะใช้วิธีการผ่าตัดด้วยการ “ผูกหูรูดกระเพาะอาหาร” เพื่อไม่ให้กรดไหลย้อน แต่การผ่าตัดต้องใช้ฝีมือศัลยแพทย์มือหนึ่ง ซึ่งมีแพทย์ที่ทำได้ไม่มากนักในเมืองไทย

ให้เราคิดว่าเราแบ่งภาวะที่มีการไหลย้อนจากกระเพาะอาหารเข้าหลอดอาหารนี้เป็น 3 ระดับหรือ 3 กลุ่ม

  • ระดับแรก เป็นระดับที่อ่อนที่สุด คือเป็นบ้างไม่เป็นบ้าง หรือนานๆเป็นทีแล้วก็หายไป มีภาวะไหลย้อนนิดหน่อย ไม่มีอาการอะไรที่รบกวนสุขภาพ ซึ่งถือว่าเป็นความปกติของร่างกาย อย่างนี้เรียกว่า GER
  • ระดับที่สอง คือเกิดภาวะไหลย้อนเข้าสู่หลอดอาหารเฉพาะบริเวณใกล้ๆกับกระเพาะอาหาร มีอาการที่รบกวนสุขภาพ อย่างนี้เรียกว่า GERD
  • ระดับที่สาม คือเกิดภาวะไหลย้อนที่รุนแรงคือไหลเข้าสู่หลอดอาหารย้อนขึ้นมาจนถึงคอ อย่างนี้เรียกว่า LPR

สำรวจความพร้อมก่อนเลิกเหล้า

หยุดเหล้า เราทำได้

วัดระดับความพร้อมในการเลิกเหล้าของคุณ มาเลิกดื่มเหล้ากันเถอะ นักดื่มจำนวนมากยอมรับว่าเคยพยายามลด เลิกดื่มแอลกอฮอล์แต่ล้มเหลวไม่ประสบความสำเร็จจนในที่สุดอาจล้มเลิกความพยายามที่จะเลิกดื่ม

ข้อเท็จจริง
จากการสำรวจประชากรไทยอายุ 15-60 ปี มีปัญหาการดื่มสุรามากถึง 5 ล้านคน (เป็นเยาวชนประมาณ 1 ล้านคน) ทั้งนี้ที่น่าเป็นห่วงพบว่ามีผู้ติดสุราเข้ารับการบำบัดรักษาเพียง 2% เท่านั้น แม้การดื่มแอลกอฮอล์จะนำมาซื่งปัญหาสุขภาพมากมาย เช่น ตับแข็ง ตับอักเสบ สมองเสื่อม การงานเสียหาย ผลกระทบต่อการเงิน ครอบครัวและสังคมก็ยังมีนักดื่มจำนวนมากที่ยังคงดื่มอย่างต่อเนื่องจนนำไปสู่การติดเหล้า

มาเลิกดื่มเหล้ากันเถอะ
เพราะเราเข้าใจว่าการเลิกดื่มทำได้ยาก แต่ด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจ เราเชื่อว่าคุณทำได้ ด้วยกระบวนการอดเหล้าอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ปลอดภัยด้วยมาตรฐานการดูแลบำบัดโดยผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนกำลังใจจากคนรอบข้างและครอบครัว คุณจะสามารถควบคุมการดื่มได้มากขึ้น สุขภาพดีขึ้น และสามารถเลิกเหล้าได้ในที่สุด

เริ่มวันนี้ เพื่อคนที่คุณรักและตัวคุณเอง

คุณดื่มมากเกินไปหรือเปล่า

  • ชาย ไม่ควรดื่มเกิน 4 แก้วต่อวัน ไม่ดื่มเลยสัปดาห์ละ 2 วัน
  • หญิง ไม่ควรดื่มเกิน 2 แก้วต่อวัน ไม่ดื่มเลยสัปดาห์ละ 2 วัน
  • หญิงมีครรภ์ ผู้ป่วยโรคบางโรคและผู้ติดแอลกอฮอล์ ไม่ควรดื่มเลย

ถ้าดื่มน้อยลงจะเกิดผลดีอย่างไร

  • สุขภาพดีขึ้น ผิวพรรณดีดูเป็นหนุ่มเป็นสาวขึ้น
  • ตับที่ทรุดโทรมได้มีโอกาสฟื้นฟูสภาพ
  • สมาธิ ความคิด ความจำดีขึ้น
  • ลดความเสี่ยงต่อโรคร้าย เช่น โรคหัวใจ ตับแข็ง ความดันโลหิตสูง มะเร็งเป็นต้น
  • ประหยัดและมีเงินเพื่อใช้จ่ายในสิ่งที่คุณต้องการ
  • ครอบครัวอบอุ่นไม่ทะเลาะกัน
  • เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกหลานและสังคม
  • คุณจะรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง

มะเร็งเต้านมโรตที่ผู้หญิง ต้องเรียนรู้

เนื่องจากโรคนี้เป็นสาเหตุหลักที่คร่าชีวิตสตรีวัยระหว่าง 35-54 ปีไปอย่างมากทีเดียว ดังนั้น วันนี้เราจึงมี 6 วิธีเพื่อช่วยผู้หญิงป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเต้านมมาฝากกันค่ะ

1. ตรวจมะเร็งเต้านมเป็นประจำ
ควรหมั่นตรวจเต้านมด้วยตัวคุณเองเป็นประจำทุกเดือนและควรเข้ารับการตรวจโดยแพทย์ทุก 3 ปี หลังจากที่อายุ 40 ปีขึ้นไป หรือสามารถตรวจได้เร็วกว่านั้นหากคนภายในครอบครัว เช่น มารดา พี่สาวหรือน้องสาวเคยป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านม โดยควรไปตรวจเต้านมและทำแมมโมแกรมเป็นประจำทุกปี

ในการตรวจแมมโมแกรมจะสามารถตรวจหาสิ่งผิดปกติในเนื้อเยื่อของเต้านมพบได้ แต่ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญโรคมะเร็งเต้านมได้แนะว่าควรไปตรวจกับทางโรงพยาบาลหรือคลีนิกที่เชี่ยวชาญด้านแมมโมแกรมเฉพาะด้านจะดีที่สุด

นอกเหนือจากการตรวจแมมโมแกรมแล้วในด้านทางวิทยาศาสตร์ยังไม่มีการค้นพบการตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยวิธีอื่น

หากก็มีผู้เชี่ยวชาญบางท่านให้การโต้แย้งว่าการทำแมมโมแกรมบ่อยครั้งก็อาจเกิดความเสี่ยงอันตรายอันเนื่องมาจากรังสีสะสมภายในร่างกายก็เป็นได้เช่นกัน ดังนั้น การดูแลสุขภาพและหมั่นตรวจด้วยตนเองเป็นระยะเรื่อยๆ ตั้งแต่เนิ่นๆ น่าจะเป็นหนทางป้องกันเพื่อรับมือได้ดีที่สุด

2. ควบคุมน้ำหนักไม่ให้สูงเกินไป
สำหรับผู้ที่เข้ารับการทำแมมโมแกรมเพื่อตรวจหาสิ่งผิดปกติของมะเร็งเต้านม หากมีน้ำหนักตัวที่ดีต่อสุขภาพย่อมช่วยเพิ่มความแน่นอนของการทำแมมโมแกรมให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้นได้ อีกทั้งยังมีโอกาสลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมได้ดีอีกด้วย

โดยองค์การอนามัยโลกให้ข้อมูลไว้ว่า 1 ใน 5 หรือ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมโดยส่วนใหญ่มักมีความเกี่ยวข้องกับการมีน้ำหนักตัวสูงกว่ามาตรฐาน และทางสถาบันวิจัยโรคมะเร็งของอเมริกา (American Institute for Cancer Research-AICR)

ได้เน้นศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างโรคมะเร็งกับโภชนาการพบว่า ความสัมพันธ์ของน้ำหนักตัวกับการเกิดมะเร็งเต้านมมีโอกาสเกิดขึ้นได้สูงในกลุ่มสตรีวัยหลังหมดประจำเดือนแล้ว แม้รังไข่จะหยุดสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนแล้วก็ตาม

แต่เซลล์ไขมันก็ยังคงผลิตออกมาเรื่อยๆ อีกทั้งยังมีการหลั่งฮอร์โมนเพื่อเข้าสู่กระแสเลือดจึงกลายเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่จะกระตุ้นความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านมให้เพิ่มมากขึ้นได้

ดังนั้น ผู้หญิงในวัยนี้จึงไม่ควรปล่อยตัวให้อ้วนเผละหรือมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานที่กำหนด และหากต้องลดน้ำหนักก็ควรเน้นลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตลงแต่หันมารับประทานอาหารที่ให้โปรตีนอย่างเนื้อสัตว์ไร้ไขมันเพิ่มแทนมากขึ้นจะดีกว่า เพราะจะทำให้กระเพาะอาหารอิ่มท้องเร็วและอิ่มนานขึ้นอีกทั้งช่วยลดน้ำหนักไปในตัวพร้อมกันได้ด้วย

3. รับประทานอาหารที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพ
การรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อสุขภาพล้วนช่วยต่อต้านและป้องกันการเกิดมะเร็งเต้านมได้ เช่น เนื้อปลา ผัก ผลไม้และอาหารธัญพืชที่ไม่ขัดสีหรือมีการขัดสีน้อยก็ล้วนมีผลในการต่อต้านมะเร็งเต้านมได้ดีเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ การรับประทานอาหารจำพวกถั่วเหลือง เมล็ดแฟล็กซ์และน้ำมันเมล็ดแฟล็กซ์ยังสามารถช่วยรักษาระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนให้อยู่ในระดับคงที่ดีที่เป็นผลดีต่อสุขภาพได้อีกด้วย

เมลานี โพล์ค, R.D. ผู้อำนวยการด้านการศึกษาของ AICR ได้กล่าวไว้ว่า “การรับประทานอาหารจากพืชธรรมชาติเป็นหลักจะทำให้ร่างกายได้รับสารไฟโตเคมิคัลที่มีคุณสมบัติช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเต้านมได้”

นอกเหนือจากนี้แล้ว สาวๆ ควรรับประทานผักผลไม้ให้ได้สองในสามจากอาหารมื้อหลักที่ทานประจำ และทานเนื้อสัตว์เพียงหนึ่งในสามเช่นกัน เพราะการทานอาหารที่ดีต้องอยู่ระดับที่พอดีเท่านั้น

จึงจะสามารถต่อต้านโรคร้ายได้ อีกทั้งยังแนะนำอีกว่าการดื่มชาเขียวหรือชาดำจะสามารถช่วยต่อต้านการเกิดมะเร็งได้เช่นเดียวกัน เพราะชาเป็นเครื่องดื่มที่อุดมไปด้วยสารแอนตี้ออกซิแดนท์จึงมีสรรพคุณช่วยยับยั้งและป้องกันการเกิดเซลล์เนื้อร้ายภายในร่างกายเราได้

4. ลดความเสี่ยงได้ด้วยอาหารเสริม
การรับประทานอาหารเสริมจะช่วยควบคุมระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมลงได้ โดยแพทย์หญิงซูซาน ลาร์ค, M.D. ผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพในสตรี ได้แนะนำให้สาวๆ เรารับประทาน diindolylmethane (DIM) และแคลเซียม ดี-กลูคาเรท DIM ซึ่งหาทานได้ในพืชตระกูลกะหล่ำ(แต่อาจจะไม่มีประสิทธิภาพสูงมากเท่ายาที่ใช้ในการรักษาโรค)

แต่หากได้รับการบำบัดป้องกันทั้งสองวิธีนี้ย่อมสามารถช่วยให้ฮอร์โมนในร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในทางสมดุลได้มากขึ้น สำหรับสารอาหารอย่างแคลเซียมดี-กลูคาเรทจะช่วยให้ตับสามารถขับเอสโตรเจนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วนวิตามินบีหลากหลายชนิดจะช่วยในเรื่องกระบวนการเมตาบอลิซึมสำหรับเอสโตรเจนในตับ นอกจากนี้ แชท ดาราม คาวเออร์, N.D. ผู้เชี่ยวชาญด้านการป้องกันและการศึกษาด้านมะเร็งเต้านมได้แนะนำให้ทานวิตามินรวมหลายชนิด

รวมถึงโคคิว 10 และวิตามินซีในปริมาณสูง และควรทานเห็ดที่ให้คุณสมบัติในการรักษาและป้องกันโรคมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างเช่นเห็ดไมตาเกะ (Maitake E-Frction) โดยอาจจะทานในรูปแบบอาหารเสริมที่สกัดจากเห็ดดังกล่าวอีกทีก็ได้

5. ออกกำลังกายป้องกันมะเร็ง
ศูนย์วิจัย Fred Hutchinson Cancer Research (FHCRC) ในเมืองซีแอตเติลได้บอกไว้ว่า การออกกำลังกายจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งลงได้ 30-40% และผู้หญิงที่ยังอยู่ในวัยเยาว์ซึ่งเป็นนักกีฬามักจะมีรอบเดือนช้ากว่า

ทำให้สามารถลดระยะเวลาต่อการเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้มากกว่าเมื่อพวกเขาเข้าสู่วัยหลังหมดประจำเดือน สำหรับการออกกำลังกายที่ดีที่สุดนั้น อาจจะไม่จำเป็นต้องเร่งออกกำลังกายแบบหักโหมมากเกินไป เพราะใช่ว่าจะดีต่อสุขภาพร่างกายเสมอไป แนะนำให้เดินเร็วก็นับว่าเพียงพอกับร่างกายแล้ว

การที่เราจะออกกำลังกายด้วยกีฬาประเภทใดก็ตาม ขอแค่เน้นออกเพื่อให้อัตราการเต้นของหัวใจมีจังหวะเร็วขึ้นก็นับว่าช่วยเผาผลาญไขมันได้ดีแล้ว นอกจากทำให้สุขภาพแข็งแรงขึ้นยังสามารถช่วยป้องกันโรคร้ายคุกคามอย่างมะเร็งเต้านมได้ดีอีกด้วย

6. ดูแลสุขภาพด้วยการใส่ใจพฤติกรรม
พยายามใช้ชีวิตให้ห่างจากสารพิษต่างๆ มากที่สุดและควรรับประทานอาหารที่ได้จากพืชพรรณธรรมชาติโดยควรหลีกเลี่ยงสารฆ่าแมลงและควรล้างผักผลไม้ให้สะอาดเพียงพอก่อนนำมารับประทานทุกครั้ง

นอกจากนี้ ควรเลิกดื่มเครื่องดื่มแลอกอฮอล์ เลิกสูบบุหรี่ ทั้งยังไม่ควรปล่อยให้สภาพจิตใจเครียดจนเกินไป ควรหากิจกรรมผ่อนคลายทำเพื่อสร้างสรรค์ชีวิตให้มีความสนุกครื้นเครงบ้างและที่สำคัญควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอด้วย

นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร The Journal of the American Medical Association ระบุว่าความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านมจะสามารถลดลงได้หากเราลดปริมาณการใช้ยาปฏิชีวนะ

ดังนั้น นี่อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าศึกษาเรียนรู้ไว้เพื่อเราจะได้หาทนทางรักษาโรคด้วยวิถีทางแบบธรรมชาติควบคู่กันด้วยซึ่งย่อมดีกว่าการพึ่งพายาปฏิชีวะในยามเจ็บป่วยได้ดีอย่างมากทีเดียว

โรคมะเร็งเต้านมเป็นโรคที่มักเกิดขึ้นบ่อยในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ดังนั้น หากสาวๆ คนไหนที่ยังอายุไม่มากก็อย่าเพิ่งนิ่งนอนใจไป บางทีโรคดังกล่าวอาจสามารถตรวจพบได้เร็วก็เป็นได้หากคนภายในครอบครัวของเราป่วยเป็นมะเร็งเต้านมมาแล้ว

เพราะฉะนั้น การรับมือป้องกันด้วยการหันมาดูแลใส่ใจสุขภาพให้แข็งแรงตั้งแต่เนิ่นๆ ด้วย 6 คำแนะนำดังกล่าวย่อมทำให้เราห่างไกลจากมะเร็งเต้านมได้อย่างอยู่หมัดแน่นอนค่ะ

ต่อมไทรอยด์ผิดปกติ โรคที่ไม่ควรนิ่งเฉย

ต่อมไทรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่บริเวณส่วนล่างของกลางลำคอ ทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งเป็นส่วนช่วยในการเผาผลาญให้เกิดพลังงานเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เมื่อต่อมไทรอยด์เกิดผิดปกติ จึงส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพ และหากปล่อยให้ภาวะความผิดปกติเรื้อรังจนรุนแรง โอกาสเสียชีวิตก็อาจเพิ่มสูงขึ้นได้!!

“คอพอก” หนึ่งในความผิดปกติของขนาดต่อมไทรอยด์
คอพอก หรือ ภาวะต่อมไทรอยด์โต มีลักษณะของก้อนหลายแบบ เช่น โตทั่วทั้งต่อม โตเป็นก้อนเรียบที่ข้างใดข้างหนึ่ง โตแบบตะปุ่มตะป่ำ เป็นปุ่มก้อนเนื้อก้อนเดียวหรือหลายๆ ก้อน ซึ่งภาวะต่อมไทรอยด์โตนี้ส่วนใหญ่จะยังสามารถสร้างฮอร์โมนได้ตามปกติ ไม่มีอาการใดๆ นอกจากผู้ป่วยคลำพบก้อนเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ภาวะต่อมไทรอยด์โต อาจเกิดร่วมกับภาวะสร้างฮอร์โมนผิดกติ ส่งผลให้มีอาการแสดงของโรคไทรอยด์เป็นพิษได้

ใจสั่น นอนไม่หลับ อาการจาก “ไทรอยด์เป็นพิษ”
ไทรอยด์เป็นพิษ หรือ ภาวะที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป ส่งผลให้ระดับฮอร์โฒนในเลือดสูงกว่าปกติ ผู้ป่วยจึงมักมีอาการแสดง เช่น เหนื่อยง่าย ใจสั่น เหงื่อออกมาก หิวบ่อย เครียด นอนไม่หลับ บางรายอาจมีอาการถ่ายอุจจาระวันละ 2-3 ครั้งขึ้นไป หรืออาจเกิดภาวะตับโต ตัวและตาเหลือง ซึ่งในรายที่มีภาวะต่อมไทรอยด์เป็นพิษรุนแรง อาจเกิด “หัวใจล้มเหลว” ได้!

เฉื่อยชา ง่วงบ่อย อีกหนึ่งอาการ เมื่อไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป
นอกจากความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ที่ทำงานมากเกินไป ในบางครั้งผู้ป่วยอาจประสบกับภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไปได้เช่นกัน โดยอาการแสดงของภาวะนี้ คือ เฉื่อยชา ขี้เกียจ ง่วงหาวบ่อย คิดช้า ซึมเศร้า ในบางรายอาจมีอาการท้องผูก กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นตะคริวง่าย และในรายที่ระดับอาการรุนแรง อาจพบน้ำอยู่ในช่องต่างๆ เช่น ช่องปอด

การรักษา…เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
สำหรับผู้ป่วยที่ต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป แพทย์จะยับยั้งการสร้างฮอร์โมนโดยการใช้ยา หรือการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพของตัวผู้ป่วย และดุลพินิจของแพทย์ ในขณะที่รายที่มีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไปนั้น จะใช้การให้ฮอร์โมนไทรอยด์ เพื่อชดเชยฮอร์โมนที่ร่างกายไม่สามารถสร้างได้เพียงพอ เป็นการรักษาสมดุลฮอร์โมนในอยู่ในระดับปกติ

เพราะการปล่อยให้ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติจนเข้าสู่ภาวะรุนแรง ผู้ป่วยอาจมีโอกาสเสียชีวิตสูง การสังเกตอาการผิดปกติตลอดจนเมื่อพบก้อนเนื้อผิดปกติบริเวณลำคอ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด เพราะการมีก้อนโตบริเวณต่อมไทรอยด์นี้ อาจร้ายแรงถึงขั้นเป็น “มะเร็งต่อมไทรอยด์” ได้!!